Wednesday, June 3, 2009

มติเอกฉันท์ศาล รธน.ชี้ รบ.มีอำนาจออก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้าน

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 เสียง เห็นควรให้อำนาจกระทรวงคลังออก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงของประเทศ ชี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1 เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ขณะที่ฝ่ายค้าน ลั่นทำหน้าที่แล้ว ปัดไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง จ้องจับผิดรัฐบาลต่อใช้ประโยชน์เงินกู้ตามจริงหรือไม่

วันนี้ (3 มิ.ย.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ วันนี้ ( 3 มิ..ย.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐธรรมนูญม าตรา 184 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันอาจจะหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสอง ทั้งนี้ พ.ร.ก.ดังกล่าว ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของ ส.ส. ที่เข้าชื่อจำนวน 99 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 185 ซึ่งก่อนมีคำวินิจฉัยคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีการประชุมเพื่อแถลงด้วยวาจาและลงมติโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เดินมารอรับฟังผลการวินิจฉัย

โดยเนื้อหาในคำวินิจฉัยระบุว่า ในประเด็นการตรา พ.ร.ก. กู้เงิน 4 แสนล้าน ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงเป็นที่รับรู้ว่าขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบ อีกทั้งปัญหาการเมืองภายในประเทศก็มีความสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ลงทุน ตลอดจนเกิดความล่าช้าในการผลักดันโครงการต่างๆของรัฐ ระบบเศรษฐกิจเกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออกและนำเข้าก็ลดลงอย่างมาก รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เคยทำรายได้สูงสุดก็ลดลงเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศขาดความมั่นใจในสวัสดิภาพและความปลอดภัย สิ่งบ่งชี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบรุนแรงคือมูลค่าการส่งออกของสินค้าไทยหดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง ภาคธุรกิจปิดการมากขึ้นทำให้ปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้น หนี้เสียมีแนวโน้มสูงขึ้น กำลังซื้อลดลง ส่งผลให้จีดีพีหดตัวลงอย่างมาก จากปัจจัยต่างๆทำให้รายได้ที่จัดเก็บน้อยกว่าประมาณการที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง ถึงความสามารถในการใช้จ่ายและจัดทำบริการสาธารณะ แม้ว่ารัฐจะได้ดำเนินมาตรการต่างๆทั้งการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการทางภาษี มาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน การจัดทำงบประมานรายจ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาน 2552 หรือเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

“เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ประกอบเหตุผลในการตรา พ.ร.ก. ย่อมเห็นได้ว่าการที่คณะรัฐมนตรี ตรา พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ขึ้นมาก็เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศมิให้ตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้ภาครัฐในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่จะช่วยสร้างกำลังซื้ออย่างเร่งด่วนในระระบบ ในช่วงที่กำลังซื้อจากทั้งในและต่างประเทศหดตัวลง จึงจำเป็นต้องรีบดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะลุกลามไปทุกภาคส่วน อันเป็นการทำหน้าที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของรัฐในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทสตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ววรคหนึ่ง แล้ว”

ส่วนประเด็นการตราพ.ร.ก.นี้ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 284 วรรคสองหรือไม่ เห็นว่าเมื่อพิจารณาถึงสภาพปัญหาความมั่นคงในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่ว่ามูลค่าการส่งออกที่หดตัวลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง มีการปิดกิจการหรือเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการว่างงานเพิ่มมากขึ้น หนี้เสียพุ่งสูงขึ้น ทุกปัจจัยส่งผลกระทบให้เกิดภัยวิกฤติเศรษฐกิจ จนรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการแก้ไขวิกฤตินั้นไม่ว่า มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และมาตรการอื่น เพื่อแก้ไขภัยจากวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว แต่สภาวะเศรษฐกิจโลก และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจึงถือเป็นกรณีที่มีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เกิดขึ้นแล้ว

“ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เป็นกรณีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นอันรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ดังกล่าวแล้ว ประกอบสาระสำคัญและกรอบการดำเนินการตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ยังไม่มีมูลกรณีให้เห็นว่า คณะรัฐมนตรีได้ตรา พ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริตหรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า การตรา พ.ร.ก.นี้ขึ้นมาเป็นกรณีความฉุกเฉินที่มีความจำเป็นอันรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสองแล้ว”

ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวหลังทราบคำวินิจฉัยว่า พรรคได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในการตรวจสอบแทนประชาชนแล้ว และเมื่อพ.ร.ก.ฉบับนี้จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาในการประชุมสมัยวิสามัญขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความจริงใจโดยถ่ายทอดสดการอภิปรายฯ เพื่อให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของเงินและเจ้าของประเทศทราบข้อเท็จจริง ซึ่งฝ่ายค้านก็จะอภิปรายชี้ให้เห็นว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการออกพ.ร.ก.ดังกล่าวจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามมติศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาไม่ถือว่าทำให้ฝ่ายค้านเสียหน้า และไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทางการเมือง เพราะเป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 185 ให้อำนาจไว้

“เมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภา นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ในฐานะประธานกรรมาธิการการเงินการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งนายวิทยา บูรณะศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน เตรียมอภิปรายเกี่ยวกับการใช้เงินว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ และเมื่อรัฐบาลนำเงินไปใช้แล้วจะมีผลสัมฤทธิ์แค่ไหน ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีการเรียกประชุมส.ส.เพื่อแบ่งทีมในการอภิปราย”โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว

ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านยอมรับในคำวินิจฉัยที่ออกมา ซึ่งประชาชนมีทั้งที่สบายใจและไม่สบายใจ แต่ในฐานะฝ่ายค้านก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบไป โดยจะติดตามว่า เมื่อการบังคับใช้พ.ร.ก.แล้วการนำเงินไปลงทุนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ การนำเงินไปปิดหีบงบประมาณมีรายละเอียดที่ชัดเจน หรือไม่ และ มีการใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวังหรือไม่

“วันนี้ต้องยอมรับว่าเงิน 4 แสนล้านเป็นเช็คเปล่า ๆ ที่เหมือนรัฐบาลกรอกเอาเอง ในการประชุมสภาฯถ้ารัฐบาลชี้แจงไม่ชัดเจนในการนำเงินไปลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจฝ่ายค้านคงไม่เห็นด้วยที่จะให้พ.ร.ก.ฉบับนี้ผ่าน เพราะหลายโครงการไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แท้จริง แต่เป็นการเอาใจพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น” นายสุรพงษ์ กล่าว

No comments:

Post a Comment